วันพฤหัสบดีที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

หลักการสร้างคำ

หลักการสร้างคำ

  คำมูล

          คำมูล คือ คำที่มีลักษณะดังต่อไปนี้
                   1. คำมูลเป็นพยางค์เดียวโดด ๆ  จะเป็นคำมาจากภาษาใดก็ได้ แต่ต้องเป็นคำเดียว                  เช่น               ภาษาไทย - พ่อ  แม่  หมู  หมา  แมว  น้อง
                   ภาษาจีน - เกี๊ยะ  เกี๊ยว  เจี๊ยะ  แป๊ะ  ซิ้ม
                   ภาษาอังกฤษ - ไมล์  เมตร  ปอนด์  ฟุต
                   2. ถ้าเป็นคำหลายพยางค์ เมื่อแยกแต่ละพยางค์แล้ว อาจมีความหมายหรือไม่มีความหมายก็ได้ แต่ความหมายของแต่ละพยางค์ไม่เกี่ยวข้องกับความหมายของคำมูลนั้นเลย เช่น   กระดาษ  ศิลปะ  กำมะลอ
                   3. คำมูลคำเดียวในภาษาไทยอาจมีความหมายได้หลายอย่าง เช่น นกเกาะอยู่บนกิ่งไม้ในเกาะแห่งหนึ่ง พวกเงาะชอบกินลูกเงาะ
          ข้อสังเกตคำมูล 
                   คำมูลหลายพยางค์ ควรดูว่าในคำหลายพยางค์นั้นมีความหมายทุกพยางค์หรือไม่ ถ้ามีความหมายบ้างไม่มีความหมายบ้างเป็นคำมูลหลายพยางค์ เช่น
มะละกอ = คำมูล 3พยางค์
นาฬิกา = คำมูล 3 พยางค์
มะ =  ไม่มีความหมาย
ละ =  ไม่มีความหมาย
กอ  =  มีความหมาย
นา =  มีความหมาย
ฬิ  =  ไม่มีความหมาย
กา =  มีความหมาย



          คำประสม

          คำประสมคือ  คำที่เกิดจากการประกอบคำมูลที่มีความหมายต่างกัน  หรือไม่ได้สัมพันธ์กันตั้งแต่สองคำขึ้นไปและมีความหมายใหม่  ซึ่งใกล้เคียงกับความหมายของคำมูลเดิม
          การสร้างคำประสมมีความมุ่งหมายเพื่อให้เกิดคำใหม่เพิ่มขึ้น  เป็นคำที่มีความหมายเฉพาะอย่างใดอย่างหนึ่ง  คำใหม่จำพวกคำประสมนี้มีรูปคำพอที่เข้าใจในความหมายกันได้ทั่วไป เหมาะสมและสะดวกกว่าการคิดคำมูลขึ้นใหม่หรือยืมคำมาจากภาษาอื่น
หลักการสร้างคำประสม
          1. คำมูลที่นำมาประสมกัน อาจเป็นคำนาม สรรพนาม กริยา วิเศษณ์ และบุพบทเช่น 
     นามกับนาม                หัวใจ  รถไฟ  หมูป่า
     นามกับสรรพนาม          ข้าพระพุทธเจ้า  พระคุณท่าน
     กริยากับกริยา             กันสาด  ขายฝาก  ต้มยำ
     กริยากับนาม               กินใจ  เผาขน ทูนหัว เตารีด
     กริยากับวิเศษณ์            สุกดิบ   
     วิเศษณ์กับนาม             สามเกลอ  หลายใจ  สองหัว
     บุพบทกับนาม             กลางบ้าน  นอกคอก  ใต้เท้า
     บุพบทกับกริยา             ตามมีตามเกิด
          2. คำมูลที่นำมาประสมกัน อาจเป็นคำมาจากภาษาใดก็ได้
          3. คำมูลที่นำมาประสมกันมีความหมายต่างกันหรือไม่ใช่ทำนองเดียวกัน เมื่อรวมกันเป็นคำประสมแล้วเกิดความหมายใหม่ใกล้เคียงกับคำมูลเดิม หรือมีความหมายโดยนัย แต่ยังมีเค้าความหมายของคำมูลเดิมอยู่ 
            ความหมายใกล้เคียงกับคำมูลเดิม  เช่น เตารีด  พัดลม  พ่อบ้าน  น้ำแข็ง  ยาถ่าย
            ความหมายโดยนัยแต่ยังมีเค้าความหมายของคำมูลเดิมอยู่  เช่น 
                          ลูกน้ำ  เกิดจาก  ลูก+น้ำ  หมายถึงลูกของยุง 
                          ม้าใช้  ม้า+ใช้  คนขี่ม้าทำหน้าที่รับใช้    
                          หางเสือ  เกิดจาก  หาง+เสือ หมายถึงเครื่องถือท้ายเรือ
          4.โดยทั่วไปคำประสมประกอบด้วยคำมูลที่มีความหมายสมบูรณ์ในตัวเอง และอยู่ได้ตามลำพัง เช่น เรือรบ ทางด่วน
          คำประสมบางคำประกอบด้วยคำมูลคำใดคำหนึ่งที่มีความหมายไม่สมบูรณ์ในตัวเอง  และอยู่ตามลำพังในประโยคไม่ได้  เช่น
          ชาว  นา          ช่าง  ไม้          การ  เงิน         ความ  ทุกข์      กระ  ทำ      นัก  ดนตรี
          ผู้  ดี              ประ  จบ         ผู้เยาว์            การเงิน           ความสุข       เครื่อง  เรือน
          คำว่า  ชาว  นัก  ผู้  ช่าง  การ  ความ  เครื่อง  กระ  ประ  มีความหมายไม่สมบูรณ์ในตัวอยู่ตามลำพังไม่ได้
          5.คำประสมบางคำมีคำหลักอยู่หลังคำขยาย คำประสมจำจำพวกนี้มักเกิดจากคำขยายที่เป็นคำบาลี สันสกฤต ส่วนคำหลักเป็นคำภาษาอื่นที่ไม่ใช่คำบาลีสันสกฤต เช่น

คำประสม
คำขยาย
คำหลัก
ภาษา
พระอู่
พระขนง
พระศก
พระโธรน
ราชวัง
ราชดำรัส
พระ
พระ
พระ
พระ
ราช
ราช
อู่
ขนง
ศก
โธรน
วัง
ดำรัส
ไทย
เขมร
เขมร
อังกฤษ
ไทย
เขมร
หลักสังเกตเกี่ยวกับคำประสม
          การนำคำมูลตั้งแต่สองคำขึ้นไปมาประกอบกันเพื่อให้เกิดคำใหม่  นอกจาคำประสมยังมีคำจำพวกอื่น เช่น  คำซ้อน  คำสมาส  และกลุ่มคำ  ซึ่งเรียกว่า  วลี  คำและกลุ่มคำดังกล่าวมีลักษณะบางอย่างคล้ายคลึงกันอาจทำให้เกิดความสับสนในการพิจารณา  ข้อสังเกตเกี่ยวกับคำประสมกับคำใหม่จำพวกอื่นและวลีมีดังนี้
          1.  คำประสมมีความหมายใหม่ต่างกับคำมูล  กลุ่มคำที่ยังมีความหมายเท่ากับคำมูลแต่ละคำไม่ใช่คำประสม
คำประสม
ความหมาย
วลี
ความหมาย
พ่อครัว
ชายที่มีหน้าที่ประกอบอาหาร
พ่อวัว
พ่อของลูกวัว
แม่ทัพ
ชายหรือหญิงที่เป็นหัวหน้าของกองทัพ
แม่ปู
แม่ของลูกปู
ลูกน้ำ
ลูกของยุงซึ่งอยู่ในน้ำ
เครื่องหมายวรรคตอนชนิดหนึ่ง
เรียกว่าจุดลูกน้ำ หรือจุลภาค
ลูกแมว
ลูกของแมว
ตู้เย็น
ภาชนะคล้ายตู้ ให้ความเย็นแก่ของที่บรรจุอยู่
ตู้เหล็ก
ตู้ทำด้วยเหล็ก
         
          2.  คำประสมเกิดจากคำมูลที่มีความหมายต่างกันหรือไม่ใช่ทำนองเดียวกัน  คำใหม่ที่เกิดจากคำมูลที่มีความหมายเหมือนกันหรือทำนองเดียวกันไม่ใช่คำประสม จัดเป็นคำซ้อน เช่น
คำประสม
คำมูล
คำซ้อน
คำมูล
กฎหมาย
กฏ + หมาย
กฏเกณฑ์
กฎ+เกณฑ์
ร่างร้าน
ร่าง+ร้าน
ร่างกาย
ร่าง+กาย
เรือใบ
เรือ+ใบ
เรือแพ
เรือ+แพ
ปกเกล้า
ปก+เกล้า
ปกปิด
ปก+ปิด
สับนก(แกงชนิดหนึ่ง)
สับ+นก
สับเปลี่ยน
สับ+เปลี่ยน
         
3.  คำประสมเกิดจากคำมูลที่เป็นคำบาลีสันสกฤต โดยมีคำหลักอยู่ข้างหน้าคำขยายอยู่หลัง  คำขยายอยู่ข้างหน้าเป็นคำสมาส เช่น
คำประสม
คำหลัก
คำขยาย
คำสมาส
คำขยาย
คำหลัก
การยุทธ์
การ
ยุทธ์
ยุทธการ
ยุทธ
การ
ผลผลิต
ผล
ผลิต
ผลิตผล
ผลิต
ผล
นายกสภา
นายก
สภา
สภานายก
สภา
นายก

คำซ้อน

          คำซ้อน คือ คำที่เกิดจากการเอาคำมูลที่มีความหมายเหมือนกัน  หรือคล้ายคลึงกัน  เป็นคำประเภทเดียวกันตั้งแต่ 2 คำขึ้นไป มารวมกันความหมายที่เกิดขึ้นมีลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังนี้
          1. มีความหมายชัดเจนหนักแน่นขึ้น เช่น
          ใหญ่โต            หมายถึง     ใหญ่มาก
          ทรัพย์สิน         หมายถึง     ของมีค่าทั้งหมด
2. มีความหมายกว้างขึ้น เช่น
         พี่น้อง             หมายถึง     ญาติทั้งหมด
         เสื้อผ้า            หมายถึง      เครื่องนุ่งห่ม
3. มีความหมายแคบลง เช่น
         หยิบยืม           หมายถึง      ยืม
         เงียบเชียบ        หมายถึง      เงียบ
         เอร็ดอร่อย        หมายถึง      อร่อย
4. มีความหมายเชิงอุปมา เช่น
         คับแคบ   อุ้มชู   ถากถาง  หนักแน่น  ดูดดื่ม
ชนิดของคำซ้อน
1. คำซ้อนเพื่อความหมาย ได้แก่การนำคำมูลที่มีความหมายอย่างเดียวกัน หรือใกล้เคียงกันมาหรือตรงกันข้ามมารวมกัน
                   1.1)   ความหมายอย่างเดียวกัน เช่น เติบโต อ้วนพี  มากมาย  ข้าทาส  สูญหาย  โง่เขลา
         1.2)  ความหมายตรงกันข้าม เช่น ถูกผิด ยากง่าย หนักเบา สูงต่ำดำขาวศึกเหนือเสือใต้   ดีร้าย ผิดชอบ
         1.3)  ความหมายใกล้เคียงกัน เรือแพ หน้าตา คัดเลือก ข้าวปลา เสื้อผ้า
 2. คำซ้อนเพื่อเสียง   เกิดจากการนำคำที่มีเสียงคล้ายกันมาซ้อนกันเพื่อให้ออกเสียงง่ายขึ้น มีเสียงคล้องจองกัน เกิดความไพเราะขึ้น เช่น   เกะกะ   ขรุขระ   เก้งก้าง โผงผาง   ท้อแท้    เพลิดเพลิน   ยู่ยี่    หลุกหลิก    จุ๋มจิ๋ม    หยุมหยิม   โอนเอน ตุกติก ตูมตาม
ลักษณะของคำซ้อน
1. เกิดจากคำมูลที่มีความหมายอย่างเดียวกันหรือทำนองเดียวกันส่วนมากอยู่ที่คำใดคำหนึ่งเพียงคำเดียว เช่น
          กีดกัน            ความหมายอยู่ที่           กัน
          เนื้อตัว            ความหมายอยู่ที่           ตัว
          ปากคอ           ความหมายอยู่ที่           ปาก
2. เกิดจากคำมูลที่มีความหมายอย่างเดียวกันหรือทำนองเดียวกัน โดยความหมายอยู่ที่คำมูลคำหน้าหรือคำหลังคำใดคำหนึ่ง เช่น
          รากฐาน          ความหมายอยู่ที่           ราก  หรือ  ฐาน
          บ้านเรือน         ความหมายอยู่ที่           บ้าน  หรือเรือน
          รูปร่าง            ความหมายอยู่ที่           รูป  หรือ  ร่าง
          เขตแดน          ความหมายอยู่ที่           เขต  หรือ  แดน
3. เกิดจากคำมูลที่มีความหมายอย่างเดียวกันหรือทำนองเดียวกัน   แต่คำหนึ่งเป็นภาษาถิ่น ความหมายอยู่ที่คำภาษากลางหรือภาษามาตรฐาน เช่น
          เสื่อสาด           สาด     เป็นภาถิ่น   (เหนือ  อีสาน  ใต้ )   หมายถึง  เสื่อ
          ทองคำ            คำ       เป็นภาถิ่น   (เหนือ  อีสาน )       หมายถึง  ทอง
          อ้วนพี             พี        เป็นภาถิ่น   (อีสาน  ใต้ )           หมายถึง  อ้วน
          ข่มเหง            เหง      เป็นภาษาถิ่น  (ใต้ )                 หมายถึง  ทับ  ข่ม
4. เกิดจากคำมูลที่มีความหมายอย่างเดียวกันหรือทำนองเดียวกัน    แต่คำหนึ่งเป็นภาษาต่างประเทศ    ความหมายอยู่ที่คำไทย เช่น
           สร้างสรรค์     สรรค์    เป็นคำภาษาสันสกฤต     หมายถึง  สร้าง
           พงไพร           ไพร     เป็นคำภาษาเขมร          หมายถึง  พง(ป่า)
           แบบฟอร์ม      ฟอร์ม   เป็นคำภาษาอังกฤษ       หมายถึง  แบบ
5. เกิดจากคำมูลที่มีความหมายอย่างเดียวกันหรือทำนองเดียวกัน   มีความหมายใหม่กว้างกว่าคำมูลเดิม เช่น
           พี่น้อง                               ไม่ได้หมายเฉพาะพี่กับน้อง  แต่รวมถึงญาติทั้งหมด
           ลูกหลาน                           ไม่ได้หมายเฉพาะลูกกับหลาน  แต่รวมถึงญาติทั้งหมด
           ถ้วยชามรามไห ,ถ้วยโถโอชาม    หมายถึง   ภาชนะใส่อาหาร
           ผลหมากรากไม้ ,ส้มสูกลูกไม้      หมายถึง   ผลไม้
           หมูเห็ดเป็ดไก่                       หมายถึง    อาหารจำพวกเนื้อสัตว์
            เรือกสวนไร่นา                    หมายถึง     ที่สำหรับเพาะปลูกพืช
6.  เกิดจากคำมูลที่มีความหมายอย่างเดียวกันหรือทำนองเดียวกัน เกิดความหมายใหม่แต่มีเค้าความหมายเดิมเช่นเดียวกับคำประสม
            ถากถาง        หมายถึง          พูดเสียดแทง
            ดูแล            หมายถึง          เอาใจใส่
            เดือดร้อน      หมายถึง          เป็นทุกข์
            อ่อนน้อม       หมายถึง          แสดงกิริยาวาจานบนอบ
            นิ่มนวล         หมายถึง          อ่อนโยน
7. เกิดจากคำ มูลที่มีความหมายอย่างเดียวกันหรือทำนองเดียวกัน   ความหมายอยู่ที่คำต้นและคำท้าย   เช่น
            เคราะห์หามยามร้าย    หมายถึง          เคราะห์ร้าย
            ฤกษ์งามยามดี           หมายถึง          ฤกษ์ดี
            ยากดีมีจน               หมายถึง          ยากจน
8. เกิดจากคำมูลที่มีความหมายตรงข้าม เกิดความหมายใหม่ ซึ่งเป็นความหมายกว้างขึ้น เช่น
             สูงต่ำ                    หมายถึง          ระดับความสูงของสิ่งต่าง ๆ
             มากน้อย                หมายถึง          ปริมาณของสิ่งต่าง ๆ
             เร็วช้า                   หมายถึง          อัตราความเร็ว
             ถูกแพง                  หมายถึง          ราคา
             เปรี้ยวหวาน            หมายถึง          รสอาหาร
การสมาส
            สมาส คือ วิธีการผสมคำ ของภาษาบาลีและสันสกฤต ไทยได้นำ มาดัดแปลงเป็นวิธีการสมาสแบบ
ไทย โดยมีหลักดังนี้
          1. ต้องเป็นคำ ที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเท่านั้น เช่น ราชการ ราชครู ราชทูต ราชบุตร ราชโอรส
          2. ศัพท์ประกอบไว้หน้า ศัพท์หลักไว้หลัง เช่นสัตโลหะ ภารกิจ ปฐมเจดีย์ อุดมศึกษา อุดมคติ
          3. แปลความหมายจากหลังมาหน้า เช่นอักษรศาสตร์วิชาว่าด้วยตัวหนังสือ, วาทศิลป์ศิลปะการพูด, ยุทธวิธี - วิธีการทำ สงคราม,    ชัยภูมิ - ที่ตั้งทัพที่ทำ ให้ได้รับชัยชนะ และ วีรบุรุษ - บุรุษผู้กล้าหาญ
          4.  ท้ายศัพท์ตัวแรกห้ามใส่รูปสระ อะ และตัวการันต์ เช่น
                   กิจการ - ไม่ใช่ กิจะการ                 ธุรการ - ไม่ใช่ ธุระการ
                   กาลเทศะ - ไม่ใช่ กาลเทศะ            วารดิถี - ไม่ใช่ วาระดิถี   
                   แพทยศาสตร์ - ไม่ใช่ แพทย์ศาสตร์    มนุษยธรรม - ไม่ใช่ มนุษย์ธรรม
          5.  ต้องออกเสียงสระที่ท้ายศัพท์ตัวแรก    เช่น
                   ประวัติศาสตร์ - ประหวัดติสาด      ธาตุเจดีย์ - ทาตุเจ - ดี
                   เกษตรกรรม - กะเสดตระกำ         ราตรีสวัสดิ์ - ราตรีสะหวัด                                              สิทธิบัตร - สิดทิบัด                        อุณหภูมิ - อุนหะพูม   
ยกเว้นบางคำ อ่านตามความนิยมโดยไม่ออกเสียงสระ เช่น สุขศาลา ชาตินิยม ไตรรัตน์บุรุษเพศ ชลบุรี ธนบุรี ธาตุวิเคราะห์ สุภาพบุรุษ
          6.  คำ ว่า วร, พระ ตามด้วยภาษาบาลีสันสกฤตถือเป็นคำ สมาส เพราะ พระ แผลงมาจาก วร เช่นวรกาย วรชายา วรองค์ วรวิหาร วรดิตถ์   พระบาท พระองค์ พระโอษฐ์ พระนาสิก พระเนตรพระกรรณ พระบัปผาสะ พระหทัย พระนลาภ พระเสโท
* คำ พระ ที่ประสมกับคำ ภาษาอื่นไม่ใช่คำ สมาส เช่น พระอู่ พระเก้าอี้ พระขนง พระเขนยพระขนน  พระสุหร่าย พระโธรน
การสมาสแบบสนธิ
การสมาสแบบสนธิ คือการประสมคำของภาษาบาลีสันสกฤต ถือว่าเป็นคำ สมาสชนิดหนึ่งแต่เป็นคำสมาสที่มี
การเปลี่ยนแปลงรูปศัพท์ ไทยนำ มาดัดแปลงเป็นการสนธิแบบไทย   โดยมีหลักดังนี้
          1. ต้องเป็นคำ ที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเท่านั้น
          2. ศัพท์ประกอบไว้หน้า ศัพท์หลักไว้หลัง
          3. แปลจากหลังมาหน้า
          4. ถ้าเป็นสระสนธิ ศัพท์ตัวหลังจะขึ้นต้นด้วย ตัว อ
          5. มีการเปลี่ยนแปลงรูปศัพท์ตามหลักที่จะกล่าวต่อไป
          การสนธิ มีอยู่ 3 ชนิด  คือ          1. สระสนธิ 2. พยัญชนะสนธิ 3. นฤคหิตสนธิ

1. สระสนธิ    คือ การนำ คำ บาลีสันสกฤตมาสนธิกับคำ ที่ขึ้นต้นด้วยสระ มีหลักดังนี้
          ก. ตัดสระท้ายคำ หน้า ใช้สระหน้าคำ หลัง เช่น 
          วิทย + อาลัยวิทยาลัย           เทว + อาลัยเทวาลัย            ศิว + อาลัยศิวาลัย      
          วชิร + อาวุธวชิราวุธ            คทา + อาวุธคทาวุธ             ขีปน + อาวุธ - ขีปนาวุธ                               มหา + อรรณพมหรรณพ       มหา + ไอศวรรย์มไหศวรรย์    มหา + อัศจรรย์มหัศจรรย์                          พุทธ + โอวาท - พุทโธวาท         วร + โอกาสวโรกาส             อน + เอกอเนก                                      ภุช + องค์ภุชงค์                 จินต + อาการจินตนาการ      จิตก + อาธานจิตกาธาน                            ประชา + อากรประชากร      ศิลป + อากรศิลปากร           วิทย + อาการวิทยาการ                           ทรัพย + อากรทรัพยากร       ชล + อาลัยชลาลัย   

          ข. ตัดสระท้ายคำ หน้า ใช้สระหน้าคำ หลัง แต่เปลี่ยนสระหน้าคำ หลังจาก อะ เป็น อา,  อิ เป็น เอ และ อุ เป็น อู, โอ เสียก่อน
          ราช + อธิราช ตัด อะ แรก ใช้ อะหลัง แต่เปลี่ยนเป็น อา สนธิเป็น ราชาธิราช
                ประชา + อธิปไตยประชาธิปไตย                  ธรรม + อธิปไตยธรรมาธิปไตย
                เทศ + อภิบาล - เทศาภิบาล                          ธรรม + อธรรม - ธรรมาธรรม
                ทูต + อนุทูต - ทูตานุทูต                               ฐาน + อนุกรม - ฐานานุกรม
          ราม + อิศวร ตัด อะ แรก ใช้ อิหลัง แต่เปลี่ยนเป็น เอ สนธิเป็น ราเมศวร
                   ปรม + อินทร์ปรเมนทร์                   นร + อิศวร - นเรศวร
                   นร + อินทร์นเรนทร์                      มหา + อิสี - มเหสี
                   คช + อินทร์คเชนทร์                              
          * ยกเว้น ภูมิ + อินทร์ - ภูมินทร์  และ กรี + อินทร์ - กรินทร์
                   มุนิ + อินทร์ - มุนินทร์                       โกสี + อินทร์ - โกสินทร์
          ราช + อุปโภค ตัด อะ แรก ใช้อุหลังแต่เปลี่ยนเป็น อู สนธิเป็น ราชูปโภค
          ราช + อุบาย ตัด อะ แรก ใช้อุหลังแต่เปลี่ยนเป็น โอ สนธิเป็น ราโชบาย
                   นย + อุบาย - นโยบาย                      ชล + อุทร - ชโลทร
                   สาธารณ + อุปโภค - สาธารณูปโภค        นร + อุดม - นโรดม
                   ศิร + อุตม - ศิโรตม์                          วัญจน + อุบาย- วัญจโนบาย
                   ราช + อุปถัมภ์ - ราชูปถัมภ์                 ราช + อุทิศ - ราชูทิศ
                   ภาร + อุปกรณ์ - ภาโรปกรณ์               คุณ + อุปการ - คุณูปการ
                   ราชินี + อุปถัมภ์- ราชินูปถัมภ์              
          * ยกเว้น มัคค + อุเทศก์มัคคุเทศก์
.เปลี่ยนสระที่ท้ายคำ หน้า อิ อี เป็น ย และ อุ อู เป็น ว เสียก่อน แล้วสนธิตามหลักข้อ ก และ ข
                    รติ + อารมณ์ เปลี่ยน อิ เป็น ย เป็น รตย สนธิเป็น รตยารมณ์,รัตยารมณ์
                   มติ + อธิบาย - มตยาธิบาย                  สามัคคี + อาจารย์ - สามัคยาจารย์
                   อัคคี + โอภาส - อัคโยภาส                  รังสี + โอภาส - รังสโยภาส
                   อธิ + อาศัย - อัธยาศัย                       ราชินี + อนุสรณ์ - ราชินยานุสรณ์
          * ยกเว้น หัตถี + อาจารย์หัตถาจารย์ ศักดิ + อานุภาพศักดานุภาพ
          ธนู + อาคม เปลี่ยน อูเป็น ว เป็น ธนว สนธิเป็น ธันวาคม
                   เหตุ + อเนกรรถ - เหตวาเนกรรถ           สินธุ + อานนท์ - สินธวานนท์
                   จักขุ + อาพาธ - จักขวาพาธ                 จตุ + อังค์ - จัตวางค์
2. พยัญชนะสนธิ     คือ คำ บาลีสันสกฤตที่นำ มาสนธิกับพยัญชนะ มีหลักดังนี้
          ก. คำ ที่ลงท้ายด้วย ส สนธิกับพยัญชนะ เปลี่ยน ส เป็น โ เช่น
                    มนัส + ธรรมมโนธรรม                     มนัส + มัย - มโนมัย                                                                  มนัส + กรรม มโนกรรม                     มนัส + คติ - มโนคติ                                                                ศิรัส + เวฐน์ศิโรเวฐน์                       รหัส + ฐาน - รโหฐาน
          . อุปสรรค ทุสุ กัน นิสุ สนธิกับพยัญชนะ เปลี่ยน ส เป็น ร เช่น
                    ทุส + ชน - ทุรชน, ทรชน                      ทุส + ราชย์ - ทุรราชย์, ทรราช                      
                    ทุส + ลักษณ์ - ทุรลักษณ์, ทรลักษณ์         ทุส + กันดาร - ทุรกันดาร                                                          ทุส + โยชน์ทุรโยชน์                          ทุส + ยศ - ทุรยศ, ทรยศ
                    ทุส + พล - ทุรพล, ทรพล                      ทุส + พิษ - ทุรพิษ, ทรพิษ                                                        ทุส + ยุค - ทุรยุค, ทรยุค                        ทุส + กรรม - ทุรกรรม, ทรกรรม                                                 นิส + คุณ - นิรคุณ, เนรคุณ                     นิส + ทุกข์ - นิรทุกข์
                    นิส + เทศ - นิรเทศ, เนรเทศ                   นิส + อาศ - นิราศ                                                                  นิส + ภัยนิรภัย                               นิส + โทษ - นิรโทษ                                                                นิส + กรรม นิรกรรม
3. นฤคหิตสนธิคือ คำ บาลีสันสกฤตที่นำ มาสนธิกับ นฤคหิต มีหลักดังนี้
          ก. นฤคหิต สนธิกับสระเปลี่ยน เป็น ม ก่อนสนธิตามหลักสระสนธิ เช่น
                    สํ + อาคมสมาคม      สํ + อิทธิ - สมิทธิ         สํ + อาทาน - สมาทาน
                    สํ + ฤทธิ์ - สัมฤทธิ์        สํ + อาบัติสมาบัติ     สํ + อาโยค - สมาโยค
                    สํ + อุจเฉทสมุจเฉท   สํ + อุฏฐาน - สมุฏฐาน   สํ + อุทัย - สมุทัย
          ข. นฤคหิต สนธิกับพยัญชนะวรรค เปลี่ยนเป็นพยัญชนะท้ายวรรคนั้นก่อนการสนธิ
สนธิกับวรรค กะ เปลี่ยน เป็น ง เช่น
                    สํ + กรสังกร           สํ + เกตสังเกต                 สํ + ขาร - สังขาร        
                    สํ + คม สังคม           สํ + ขตะสังขตะ                สํ + คีตสังคีต                                                   สํ + ฆาฏิ - สังฆาฏิ
สนธิกับวรรค จะ เปลี่ยน  เป็น ญ เช่น
                    สํ + จร - สัญจร                              สํ + ชาติสัญชาติ                
                   สํ + ญา - สัญญา                             สํ + ญาณ - สัญญาณ
สนธิกับวรรค ฏะ เปลี่ยน เป็น ณ เช่น    สํ + ฐาน - สัณฐาน       สํ + ฐิติ สัณฐิติ
สนธิกับวรรค ตะ เปลี่ยน เป็น น เช่น
                   สํ + ดาน - สันดาน              สํ + เทศ - สันเทศ,สนเทศ       สํ + นิบาต - สันนิบาต                                         สํ + นิวาส สันนิวาส          สํ + โดษ - สันโดษ                สํ + ดาป - สันดาป
สนธิกับวรรค ปะ เปลี่ยน ™ เป็น ม เช่น
                   สํ + บัติ - สมบัติ                 สํ + บูรณ์สมบูรณ์                สํ + ปทา - สัมปทา                                         สํ + ปทาน สัมปทาน         สํ + ผัสสัมผัส                     สํ + พลสัมพล                                           สํ + พันธ์ - สัมพันธ์             สํ + พงศ์ สมพงศ์                  สํ +พุทธสัมพุทธ                                         สํ + เพชสมเพช              สํ + ภพ - สมภพ
          ค. นฤคหิตสนธิกับเศษวรรค เปลี่ยน เป็น ง ก่อนสนธิ เช่น

                   สํ + โยคสังโยค                สํ + วรสังวร                     สํ + หรณ์ - สังหรณ์                                         สํ + วาส สังวาส                สํ + เวค - สังเวค                   สํ + สนทนาสังสนทนา                                 สํ +สิทธิ - สังสิทธิ                สํ + หาร - สังหาร

1 ความคิดเห็น:

  1. Lucky Club Casino site - live betting, live dealer, mobile
    Lucky Club, a trusted online luckyclub gaming site, offers betting on all your favourite sports including tennis, horse racing, cricket,  Rating: 6.3/10 · ‎17 votes

    ตอบลบ

หลักการสร้างคำ

หลักการสร้างคำ    คำมูล           คำมูล คือ คำที่มีลักษณะดังต่อไปนี้                    1. คำมูลเป็นพยางค์เดียวโดด ๆ   จะเป็นคำมาจ...